ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ถนอม กิตติขจร

จอมพล ถนอม กิตติขจร (11 สิงหาคม พ.ศ. 2454—16 มีนาคม พ.ศ. 2547) เป็น อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของประเทศไทย ผู้บัญชาการทหารบก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลในเหตุการณ์ 14 ตุลา ปี 2516 ซึ่งเป็นเหตุการณ์การประท้วงของ นิสิต นักศึกษา และประชาชน โดยในเหตุการณ์ ทหารได้ใช้อาวุธสงครามเข้าปราบปรามนักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เป็นผลให้ จอมพล ถนอม กิตติขจร ต้องประกาศลาออกจากตำแหน่ง และเดินทางออกจากประเทศ พร้อมกับ จอมพล ประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ภายหลังเหตุการณ์ จอมพล ถนอม กิตติขจร ก็ได้เดินทางกลับ แล้วบวชเป็นพระสามเณร เป็นชนวนไปสู่การ ขับไล่ ของนักศึกษาธรรมศาสตร์ จนโยงไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลา ปี 2519 ทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายจำนวนมาก

จอมพล ถนอม กิตติขจร เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย เป็นระยะเวลาถึง 10 ปี 6 เดือนเศษ และนับจากการเปลี่ยนการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา นายทหารที่มาจากคนธรรมดาสามัญที่ครองยศจอมพลสายทหารบก มีด้วยกัน 7 คน จอมพลถนอมเป็นคนที่ 6 จอมพลประภาส จารุเสถียรเป็นคนที่ 7 แต่ผู้ที่มีอายุยืนที่สุด คือจอมพลถนอม จึงกลายเป็น "จอมพลคนสุดท้าย" จอมพลถนอมถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคเส้นเลือดในสมองแตกเมื่อกลางดึก เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2547 รวมอายุได้ 92 ปี

จอมพล ถนอม กิตติขจร เกิดเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2454 ณ บ้านหนองหลวง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก เป็นบุตรของขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อำพัน กิตติขจร) กับนางโสภิตบรรณลักษณ์ (ลิ้นจี่) มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 7 คน ได้แก่

จอมพล ถนอม กิตติขจร มีแซ่ในภาษาจีนว่า ฝู (จีน: ?; พินอิน: f?)เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนประชาบาลวัดโคกพลู จังหวัดตากหลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก และในระหว่างรับราชการทหารได้ศึกษาต่อที่ โรงเรียนแผนที่ทหาร กองทัพบก โรงเรียนทหารราบ กองทัพบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่ 1) ตามลำดับ

จอมพล ถนอมได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2504 จอมพล ถนอมดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่าง พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2509

จอมพลถนอม กิตติขจรสมรสกับท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร (สกุลเดิม ถนัดรบ บุตรีของ พันเอกหลวงจบกระบวนยุทธ์ (แช่ม ถนัดรบ) และ คุณหญิงเครือวัลย์ จบกระบวนยุทธ์) มีบุตรธิดาทั้งสิ้น 6 คน ได้แก่

นอกจากนี้ยังรับหลานอีก 2 คน ซึ่งเป็นบุตรของน้องสาวของท่านผู้หญิงจงกลมาเลี้ยงดูดุจลูกแท้ๆ ของท่านเอง คือ

รับราชการครั้งแรกในตำแหน่งผู้บังคับหมวดกรมทหารราบที่ 8 กองพันที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้ร่วมก่อรัฐประหาร เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ในขณะที่มียศเป็นพันโท ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารบกที่ 11 ต่อมาได้เป็น รองผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รองผู้บัญชาการภาคทหารบกที่ 1 และเป็นแม่ทัพภาคที่ 1 มาโดยลำดับจนกระทั่งวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2506 พลเอกถนอมได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด สืบต่อจาก จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ถิึงแก่อสัญกรรม

ต่อมาในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2507 พลเอกถนอมได้รับพระราชทานยศ จอมพล จอมพลเรือ และ จอมพลอากาศ และในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 จอมพลถนอมได้สละตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกให้กับ พลเอกประภาส จารุเสถียร โดยเหลือตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียว

จอมพลถนอม กิตติขจร ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลของนายพจน์ สารสิน สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติให้จอมพลถนอมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 แต่บริหารประเทศแค่ 9 เดือนเศษก็ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเปิดทางให้จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ถึงแก่อสัญกรรม จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาที่จอมพล ถนอม กิตติขจร บริหารประเทศได้สร้างทางหลวงสายต่าง ๆ ทั่วประเทศหลายสาย สร้างเขื่อน อาทิ เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนอุบลรัตน์ นอกจากนี้ท่านยังได้ทำการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยทัดเทียมกับนานาประเทศ และในปี พ.ศ. 2508 ได้ส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนามด้วย

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย จอมพลถนอมได้รับการแต่งตั้งเป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ สร้างความไม่พอใจและกระแสต่อต้านในสังคมระยะหนึ่ง ถึงกับมีการอภิปรายในสภาและกังวลกันว่าอาจเป็นชนวนเหตุให้เกิดเหตุร้ายซ้ำอีก ต่อมาเมื่อ 24 มีนาคม จอมพลถนอมจึงลาออกจากตำแหน่งดังกล่าวเพราะแรงกดดันจากสาธารณชน

หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 มีการเลือกตั้งทั่วไปและมีรัฐสภา ในปี พ.ศ. 2514 จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้ทำรัฐประหารรัฐบาลของตนเอง และได้จัดตั้งสภาบริหารคณะปฏิวัติขึ้น เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง หนึ่งในผู้ที่ยืนหยัดวิจารณ์อย่างไม่เกรงกลัวอำนาจได้แก่ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่เขียนจดหมายในนามนายเข้ม เย็นยิ่ง ถึง ผู้ใหญ่ ทำนุ เกียรติก้อง (หมายถึงจอมพลถนอมนั่นเอง)

จนกระทั่งมีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2515 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามธรรรมนูญการปกครองดังกล่าวได้มีมติให้จอมพล ถนอม กิตติขจร เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป

จอมพล ถนอม กิตติขจร พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 รัฐบาลได้ใช้อาวุธสงครามเข้าปราบปรามนักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จากเหตุการณ์นี้ ทำให้พลังทางการเมืองหลายฝ่ายกดดันให้จอมพลถนอมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยยึดอำนาจและรัฐประหารทั้งสิ้น 10 ปี 6 เดือนเศษ หลังจากนั้น ได้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของจอมพลถนอม จนนำไปสู่การยึดทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สุจริตต้องเป็นจำนวนมาก

วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2519 ท่ามกลางกระแสการปฏิวัติรัฐประหารของฝ่ายทหารทวีความรุนแรงอย่างกว้างขวาง จอมพลถนอมในวัย 65 ปี ได้กลับประเทศไทยอีกครั้งโดยบวชเป็นสามเณร ทำให้นักศึกษาประชาชนได้ออกมาประท้วงขับไล่อดีตนายกรัฐมนตรีมือเปื้อนเลือดรายนี้ เป็นเหตุให้กลุ่มการเมืองอีกฝ่ายที่นำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ฉวยโอกาสก่อรัฐประหารและทำการล้อมปราบนักศึกษาประชาชนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายจำนวนมาก นำไปสู่การยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุติการปกครองแบบประชาธิปไตยรัฐสภา และทำให้ประเทศไทยอยู่ภายใต้เผด็จการทหารต่อมาเป็นเวลาปีเศษ

จอมพลถนอม กิตติขจร เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย (รวมในสมัยเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติตัวเองด้วยเป็นสมัยที่ 3) สมัยแรกเป็นนายกในระยะเวลาสั้น ๆ หลังการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ในปี พ.ศ. 2501 สมัยที่สองถึงสี่หลังจากจอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรม ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพลถนอมจึงถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของเผด็จการทหาร ถึงแม้ว่า ได้รับพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้า และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดีชั้นที่ 1 เสนางคบดี ซึ่งเปรียบเสมือนสายสะพายแห่งความกล้าหาญ พร้อมกันนี้ยังได้เครื่องราชอิสริยาภรณ์อีกกว่า 30 รายการ ซึ่งถือว่าเป็นการจบชีวิตของนายทหารยศจอมพลคนสุดท้ายของกองทัพไทย

จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ?จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ?จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ?จอมพลเรือ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ?จอมพลเรือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ? จอมพล (หญิง) สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ?จอมพล เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล) ? จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ?จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ? จอมพลผิน ชุณหะวัณ ? จอมพลเรือ หลวงยุทธศาสตร์โกศล ? จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี ?จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ? จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร ? จอมพลถนอม กิตติขจร ? จอมพลประภาส จารุเสถียร ? จอมพลเกรียงไกร อัตตะนันทน์

แปลก พิบูลสงคราม • สฤษดิ์ ธนะรัชต์ • ถนอม กิตติขจร • ทวี จุลละทรัพย์ • กฤษณ์ สีวะรา • สงัด ชลออยู่ • กมล เดชะตุงคะ • เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ • เสริม ณ นคร • สายหยุด เกิดผล • อาทิตย์ กำลังเอก • สุภา คชเสนี • ชวลิต ยงใจยุทธ • สุนทร คงสมพงษ์ • สุจินดา คราประยูร • เกษตร โรจนนิล • วรนาถ อภิจารี • วัฒนชัย วุฒิศิริ • วิโรจน์ แสงสนิท • มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ • สำเภา ชูศรี • ณรงค์ ยุทธวงศ์ • สุรยุทธ์ จุลานนท์ • สมทัต อัตตะนันทน์ • ชัยสิทธิ์ ชินวัตร • เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ • บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ • ทรงกิตติ จักกาบาตร์ • ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร • วรพงษ์ สง่าเนตร • สมหมาย เกาฏีระ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ? สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ? พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ? เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์ อรุณ ฉัตรกุล)

เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) ? สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ? พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ? พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร

พระยาพหลพลพยุหเสนา ? แปลก พิบูลสงคราม ? พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต ? อดุล อดุลเดชจรัส ? ผิน ชุณหะวัณ ? สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ? ถนอม กิตติขจร ? ประภาส จารุเสถียร ? กฤษณ์ สีวะรา ? บุญชัย บำรุงพงศ์ ? เสริม ณ นคร ? เปรม ติณสูลานนท์ ? ประยุทธ จารุมณี ? อาทิตย์ กำลังเอก ? ชวลิต ยงใจยุทธ ? สุจินดา คราประยูร ? อิสระพงศ์ หนุนภักดี ? วิมล วงศ์วานิช ? ประมณฑ์ ผลาสินธุ์ ? เชษฐา ฐานะจาโร ? สุรยุทธ์ จุลานนท์ ? สมทัต อัตตะนันทน์ ? ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ? ประวิตร วงษ์สุวรรณ ? สนธิ บุญยรัตกลิน ? อนุพงษ์ เผ่าจินดา ? ประยุทธ์ จันทร์โอชา ? อุดมเดช สีตบุตร ? ธีรชัย นาควานิช


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

ลีโอ กาเมซ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน จักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย โอลิมปิก 2008 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 การก่อการกำเริบ 8888 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ยุทธการแห่งบริเตน บีเซนเต เดล โบสเก โคเซ มานวยล์ เรย์นา เคซุส นาบัส คาบี มาร์ตีเนซ เฟร์นันโด โยเรนเต เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา เซร์คีโอ ราโมส ควน มานวยล์ มาตา บิกตอร์ บัลเดส ชูอัน กัปเดบีลา ชาบี ดาบิด บียา อันเดรส อีเนียสตา การ์เลส ปูยอล ราอุล อัลบีออล กัปตัน (ฟุตบอล) อีเกร์ กาซียัส สโมสรฟุตบอลบียาร์เรอัล 2000 Summer Olympics Football at the Summer Olympics Spain national football team Valencia CF S.L. Benfica Sevilla FC Villarreal CF Midfielder Defender (association football) เนวิลล์ ลองบัตท่อม เจ.เค. โรว์ลิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) บ็อบบี ร็อบสัน สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม แอนดรูว์ จอห์นสัน อิกเนเชียสแห่งโลโยลา เจ. เค. โรว์ลิ่ง เวสลีย์ สไนปส์ ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ยอดเขาเคทู สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Munhwa Broadcasting Corporation โจ อินซุง ควอน ซัง วู ยุน อึนเฮ รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ อุซึมากิ คุชินะ มาเอดะ อัตสึโกะ คิม ฮีชอล เจสสิก้า ซิมพ์สัน จาง เซี๊ยะโหย่ว พิภพ ธงไชย วิมล ศิริไพบูลย์ มหาธีร์ โมฮัมหมัด บอริส เยลซิน ออกแลนด์ เรนโบว์วอริเออร์ ฝ่ายพันธมิตร เด่น จุลพันธ์ เคอิทาโร โฮชิโน แมนนี่ เมลชอร์ ผู้ฝึกสอน ไมเคิล โดมิงโก ก. สุรางคนางค์ นิโคล เทริโอ ซีเนอดีน ซีดาน เริ่น เสียนฉี โจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ โอดะ โนบุนากะ แยกราชประสงค์ แคชเมียร์ วีโต้ แอฟริกัน-อเมริกัน Rolling Stone People (magazine) TV Guide อินสตาแกรม Obi-Wan Kenobi Saturday Night Live The Lego Movie Jurassic World Guardians of the Galaxy (film) Her (film) แอนนา ฟาริส จอมโจรอัจฉริยะ จอมโจรคิด ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ลุยจี กอนซากา ครีษมายัน เจริญ วัดอักษร อลิซ บราวน์ อินิโก โจนส์ กาแอล กากูตา

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
เลขมงคล รถยนต์ ทะเบียน ทะเบียนรถ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23180